แปลกตา Nasa ปล่อยภาพทางช้างเผือก ส่งตรงจากกล้อง James Webb
พบกับภาพถ่ายนอกโลกสวย ๆ จาก James Webb อีกครั้ง คราวนี้เป็นภาพสุดแปลกตา เผยให้เห็นภาพกาแล็กซี่ทางช้างเผือกแบบใหม่ ที่ทั้งสวยและวุ่นวายในภาพเดียว
NASA เผยภาพถ่ายอินฟราเรดล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb
ในบริเวณ Sagittarius C หรือ Sgr C ของทางช้างเผือก (ที่เราอาศัยอยู่) ซึ่งอยู่ห่างจากหลุมดำมวลยิ่งยวดอย่าง Sagittarius A ที่ 300 ปีแสง ณ ใจกลางกาแล็กซี่ ซึ่งมีความละเอียดสูง และดูมีความ ‘วุ่นวาย’ ในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ท่ามกลางดาวฤกษ์ประมาณ 500,000 ดวงในภาพ
[ไม่เคยมีภาพถ่ายอินฟราเรดไหนจาก James Web ที่มีความความละเอียดเท่านี้ ซึ่งทำให้เราได้สังเกตุเห็นคุณสมบัติต่าง ๆ มากมายเป็นครั้งแรก และทำให้เราสามารถศึกษาการก่อตัวดาวฤกษ์ ในแบบสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยทำได้มาก่อน] ซามูเอล โครว์ (Samuel Crowe) นักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย และเป็นนักวิจัยหลักของทีมสังเกตการณ์กล่าว
จุดที่สะดุดตาในภาพก็ย่อมเป็นบริเวณที่มีแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นรังสีขนาดใหญ่จากก๊าซไฮโดรเจน ที่แตกตัวเป็นไอออนรอบ ๆ ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากดาวมวลมากอายุน้อย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เหล่านักดาราศาสตร์ ต้องหาคำตอบว่าอะไรที่ทำให้ดาวอายุน้อยเหล่านี้ สามารถปล่อยก๊าซดังกล่าวออกมาเป็นจำนวนมากแบบนี้ได้
หากใครสนใจดาวน์โหลดไฟล์ภาพถ่ายนี้ ลองดูได้ที่ https://webbtelescope.org
tags : nasa.gov