นักวิจัยผุดไอเดีย
ฝังโซลาร์เซลล์ในดวงตา เพื่อช่วยรักษาโรคประสาทตาเสื่อม และเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์ประสาทตาเทียม ที่ยังไร้ทางรักษาในปัจจุบัน
ฝังโซลาร์เซลล์ในดวงตา
ทีมนักวิจัยประเทศออสเตรเลีย ผุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีประสาทเทียม (Neuroprosthetic technology) สำหรับดวงตา ด้วยการฝังแผง Solar Cell ขนาดเล็กในลูกตา หากสำเร็จมันจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคประสาทตาเสื่อม ที่ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด
โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมทางตาที่ทำให้ตัวรับแสงค่อย ๆ เสียหายจนนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในที่สุด มักจะเกิดในผู้สูงอายุที่ส่งผลให้ไม่สามารถมองเห็นตรงกลางได้ชัดเจน
ปัจจุบัน อุปกรณ์ยังมีข้อจำกัดในส่วนของแหล่งพลังงานที่จำเป็นต้องมีสายไฟระโยงระยางบริเวณดวงตา ซึ่งนอกจากจะยากต่อการติดตั้งแล้ว ยังสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วย จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงการนี้ไปอีกขั้นด้วยการนำ Solar Cell มาซ้อนกัน เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
Solar Cell ที่ใช้ในงานวิจัยนี้จะให้แรงดันไฟฟ้ามากพอในการกระตุ้นประสาทตาไปยังสมอง อีกทั้งยังช่วยประหยัดพื้นที่ของเครื่องมือในการติดตั้งบริเวณดวงตาได้ด้วย
โครงการนี้อยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์แนวคิด ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาประสาทตาเทียมที่มี Solar Cell ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้คนมองเห็นได้อย่างแม่นยำ ปัจจุบันสามารถสร้าง Solar Cell ซ้อนกันจำนวน 2 ชิ้นได้ที่มีขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร และคาดว่า หลังจากทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง จะสามารถลดขนาดให้อยู่ที่ 2 ตารางมิลลิเมตร และพร้อมทดสอบกับมนุษย์ได้ในเวลาต่อไป