Toyota

Toyota ทุ่มทุนผลิตแบตเตอรี่ 203,786 ล้านบาท ส่งสัญญาณหมดยุคไฮบริด

โตโยต้า (Toyota) บริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สุดที่เคยผลิตมา และไม่กี่ปีมานี้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) เริ่มมาแรงส่งผลให้เทสลากลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก (จากราคาหุ้น) ในขณะที่โตโยต้ายังเห็นโอกาสในรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) และติดอยู่กับความสำเร็จในรถยนต์ไฮบริด

นอกจากนี้โตโยต้ายังมั่นใจในฐานลูกค้าที่สร้างมาอย่างยาวนานจึงเปรียบตัวเองเหมือน “ร้านที่มีลูกค้ามากแล้ว” ส่วนเทสลาเป็นแค่ “ร้านอาหารโปรโมตสูตร” และอ้างว่าการมุ่งเน้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะก่อให้เกิดมลพิษมากกว่ารถยนต์เชื้อเพลิงน้ำมัน แต่จริง ๆ โตโยต้าก็ไม่ได้ประมาท ปี 2019 ได้ประกาศร่วมทุนกับ BYD ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีน

โตโยต้าได้มุ่งสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ โดยเดือนเมษายน 2021 ได้เปิดตัวแนวคิดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่รุ่นแรกในแบบ SUV คือ bZ4X แล้วต่อมาได้เปิดตัวสเปกอย่างละเอียดในตุลาคม 2021 พร้อมประกาศแผนส่งมอบกลางปี 2022 และในเดือนเดียวกันได้ประกาศทุ่มทุน 3,400 ล้านเหรียญ (113,458 ล้านบาท) ในการผลิตแบตเตอรี่ในสหรัฐฯ (แบบนี้แสดงท่าทีว่าเอาจริงแล้วสินะ)

Toyota

เดือนเมษายน 2022 โตโยต้าประกาศเปิดตัวรถยนต์ SUV ไฟฟ้า All-New bZ4X BEV ที่ญี่ปุ่นในวันที่ 12 พฤษภาคม พร้อมด้วยการเปิดจอง และมีแผนออกจำหน่ายในตลาดอเมริกาเหนือช่วงกลางปี ​​2022 และในยุโรปช่วงฤดูร้อน (ประมาณไตรมาสที่ 3) แต่ต่อมาเดือนมิถุนายน โตโยต้าได้ประกาศเรียกคืนรถยนต์ EV รุ่น bZ4X ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่คืน 2,700 คัน เนื่องจากอะไหล่ล้อหลวม และมีความเสี่ยงที่ล้อจะหลุดขณะขับรถ เช่นเดียวกับซูบารุได้เรียกคืนรถยนต์รุ่นซอลเทอร์ราที่ร่วมพัฒนามาด้วยกัน (ดูเหมือนจะเป็นประสบการณ์เข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ไม่ค่อยดีนัก)

นิสสัน (Nissan) จัดว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นรายใหญ่รายแรกที่กล้าตัดสินใจกระโดดเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ได้ปล่อย Nissan Leaf รถยนต์ 5 ประตูแบบแฮตช์แบ็กที่สร้างยอดขายถล่มทลายสูงสุดตลอดกาลจนถึงธันวาคม 2019 (แต่ต่อมาต้องเสียแชมป์ให้กับ Tesla Model 3) ซึ่งเมื่อเทียบกับโตโยต้าที่ยังห่วงกับความสำเร็จเดิมในรถยนต์ไฮบริดและรักในเซลล์เชื้อเพลิง จึงดูเหมือนว่าโตโยต้าจะเข้าสู่ตลาดช้าเกินไป

สหรัฐฯ ได้กระตุ้นให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยให้เครดิตคืนภาษี 7,500 เหรียญ (272,925 บาท) แต่ในเดือนสิงหาคม สหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายลดเงินเฟ้อที่สั่งห้ามการคืนภาษีให้กับรถยนต์ที่ไม่ได้ประกอบ / ใช้แร่สำหรับแบตเตอรี่และส่วนประกอบแบตเตอรี่ในอเมริกาเหนือ ส่งผลให้ 70% ของรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ ไม่มีสิทธิ์รับเครดิตคืนภาษี ซึ่ง Chevy Bolt 2023 ได้หั่นราคาลงจาก 31,500 เหรียญ (1,146,285 บาท) เหลือ 25,600 เหรียญ (931,584 บาท) และ วินฟาสท์ประกาศจะให้ส่วนลด 7,500 เหรียญ แก่ลูกค้าที่จองรถแล้วคืนภาษีไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ ค่ายรถยนต์ที่จะบุกตลาดสหรัฐๆ จึงต้องตั้งโรงงานประกอบรถยนต์และผลิตแบตเตอรี่ในสหรัฐฯ ล่าสุด 31 สิงหาคม โตโยต้าได้ประกาศเพิ่มการลงทุน 2,500 ล้านเหรียญ (91,266 ล้านบาท) สำหรับสร้างโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่ในนอร์ทแคโรไลนา รวมทั้งหมดเป็น 3,800 ล้านเหรียญ (138,724 ล้านบาท) ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคม 2021 ได้เปิดแผนการลงทุนสร้างโรงงานแห่งนี้โดยเริ่มต้นไว้ที่ 1,290 ล้านเหรียญ (47,097 ล้านบาท) และสัปดาห์ที่แล้วโตโยต้าเผยว่าได้ลงทุนการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นรวมกันมูลค่า 5,600 ล้านเหรียญ (203,786 ล้านบาท)

เดือนกรกฎาคม VinFast ได้ประกาศเตรียมการก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในนอร์ทแคโรไลนา และเดือนที่แล้ว ฮอนด้าและแอลจีเอเนอร์จีโซลูชันได้ร่วมลงทุน 4,400 ล้านเหรียญ (160,117 ล้านบาท) สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่ในสหรัฐฯ ทั้งนี้พานาโซนิกกำลังเพิ่มการผลิตแบตเตอรี่ให้กับเทสลาที่โรงงานในเนวาดาด้วยเช่นกัน

สรุปง่าย ๆ ว่า การทุ่มทุนในการสร้างโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่ในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นของโตโยต้าเป็นเหมือนสัญญาณบ่งบอกให้รู้ว่าบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกกำลังเบนเข็มทิศเข้าสู่การแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ และอาจจะถึงคราวหมดยุคไฮบริดแล้วก็ได้

tags : nikkei

Facebook

Similar Posts