เด็กไทยสุดเจ๋ง คิดค้นนวัตกรรมดักจับคาร์บอน เสนอต่อ อีลอน มัสก์
เด็กไทยสุดเจ๋ง คิดค้นนวัตกรรมดักจับคาร์บอน เสนอต่อ อีลอน มัสก์
เด็กไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน เพราะล่าสุด เด็กชายสัญชาติไทยวัยเพียง 15 ปี แอนโทนี-ปิยชนม์ ภุมวิภาชน์ นักเรียนโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย ได้คิดนวัตกรรมดักจับคาร์บอน แปลงเป็นไฮโดรเจน-เชื้อเพลิง เพื่อเสนอต่ออีลอน มัสก์
ทั้งนี้การดักจับคาร์บอนเพื่อใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ Carbon capture, utilisation and storage (CCUS) เป็นกระบวนการดักจับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งต่างๆ อย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเก็บกักไว้เพื่อไม่ให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ตามหลักการ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกเก็บไว้ที่ชั้นธรณี ประกอบด้วย แหล่งกักเก็บน้ำมัน ชั้นถ่านหินที่ไม่สามารถทำเหมืองถ่านหินได้ และชั้นน้ำเค็มที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นโครงสร้างทางธรณีที่เป็นแหล่งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ น้ำเกลือ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงหลายล้านปี
แรงบันดาลใจของ แอนโทนี เด็กชายในวัยเพียง 15 ปี เกิดจากข่าวที่ อีลอน มัสก์ พร้อมจ่ายเงิน 100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นรางวัลสำหรับเทคโนโลยีเครื่องดักจับคาร์บอนที่ดีที่สุด ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ทำให้เขาสนใจอย่างมาก เขาได้เสนอไอเดียนวัตกรรมในการดักจับคาร์บอนในบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหามลพิษในอากาศทางภาคเหนือได้ โดยตัดต่อคลิปวิดีโอเผยแพร่ลงบนยูทูบ เป้าหมายคือ หากอีลอน มัสก์ ในคลิปยังพูดถึงที่มาว่า…
“ผมเห็นข่าวที่เขาได้ลงมาช่วยภารกิจ 13 หมู่ป่า ที่ถ้ำขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย จึงรู้สึกชื่นชอบและประทับใจในตัวของมัสก์ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมกู้ภัยได้ ผมจึงอยากให้มัสก์ได้เห็นว่า คนไทยสามารถผลิตนวัตกรรมดักจับคาร์บอนได้ ซึ่งเราเห็นความสำคัญของเรื่องมลพิษทางอากาศผ่านปัญหาหมอกควันในภาคเหนือช่วง 2 ปีที่ผ่านมา”
และในคลิปยังอธิบายหลักการทำงานของเครื่องมือนี้ไว้ว่า ตัวเครื่องมีกลไกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศให้เป็นก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์ และก๊าซออกซิเจน รวมถึงภายในเครื่องมือนี้ยังสามารถดักจับฝุ่นละลอง PM2.5 ซึ่งเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศได้
ภาพจาก : ngthai
ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้สามารถนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงมีเทนและปิโตรเลียม ส่วนก๊าซออกซิเจนสามารถปล่อยคืนสู่ชั้นบรรยากาศได้ ปัจจุบัน กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแอนโทนีและคุณลุงผู้เป็นนักประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต
ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับรายละเอียดจากอีลอน มัสก์ ว่าจะใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้ารับรางวัลอย่างไร แต่เรื่องแนวคิดการดักจับคาร์บอนซึ่งเป็นนวัตกรรมของชาวไทยก็เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เรามีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเพื่ออนุรักษ์โลกของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม
Tags : ngthai