มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง
นักวิจัยคิดค้นสร้าง 'สไลม์แม่เหล็ก' ด้วยแรงของแม่เหล็ก สามารถรักษาตัวเองได้ อาจมีประโยชน์ในระบบย่อยอาหารมนุษย์ในอนาคต
เมื่อนักวิจัยได้สร้างสไลม์ที่สามารถไหลล้อมรอบวัตถุขนาดเล็ก และห่อหุ้มจนสามารถเดินทางผ่านพื้นที่แคบ ด้วยแรงนำของแม่เหล็ก และสามารถล้อมรอบวัตถุขนาดเล็ก รักษาตัวเองได้ โดยแม่เหล็กยังเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีและสามารถใช้เชื่อมต่ออิเล็กโทรดได้
หลี่ จาง ผู้ร่วมพัฒนาจากมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง อธิบายเกี่ยวกับ สไลม์แม่เหล็ก ว่า
หลี่ จาง ผู้ร่วมพัฒนาจากมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง อธิบายว่า สไลม์ประกอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก ที่ให้สามารถเคลื่อนที่หมุนได้ เมื่อใช้แม่เหล็กจากภายนอก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการปรับใช้มันเหมือนหุ่นยนต์ แต่ยังถือเป็นวิจัยพื้นฐานที่จากนี้ต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติของสไลม์เพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องการคุณสมบัติที่เป็นสารกึ่งของไหล
“ยืดหยุ่นตัวหนืด” ซึ่งหมายความว่า บางครั้งมันทำตัวเหมือนของแข็ง บางครั้งก็ทำตัวเหมือนของเหลว” (หลี่ จาง กล่าว)
และมันเหมือนกับการผสมน้ำกับแป้งข้าวโพดที่บ้าน ซึ่งเป็นของไหลที่ไม่ใช่ของนิวตันซึ่งความหนืดเปลี่ยนแปลงภายใต้แรง เมื่อคุณสัมผัสมันอย่างรวดเร็วมันจะทำตัวเหมือนของแข็ง เมื่อคุณสัมผัสเบาๆ และช้าๆ มันจะทำตัวเหมือนของเหลว เพราะทำจากส่วนผสมของพอลิเมอร์ และบอแรกซ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
ทั้งนี้ ทีมยังไม่มีแผนจะทดสอบในทางการแพทย์ได้เลยทันที เพราะนักวิทยาศาสตร์มองว่าเมือกอาจมีประโยชน์ในระบบย่อยอาหาร เช่น ในการลดอันตรายจากแบตเตอรี่ที่กลืนเข้าไปเพียงเล็กน้อย แต่เราอาจใช้หุ่นยนต์เมือกนี้ในการห่อหุ้มเพื่อสร้างสารเคลือบแทน