นักวิจัยจากประเทศสิงคโปร์ ได้พัฒนา
ผ้ารับเสียงอัจฉริยะ Acoustic fabric แค่สวมเสื้อก็วัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ "เส้นใยรับเสียง" ในอนาคตอาจจะประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์ได้
นักวิจัยจากประเทศสิงคโปร์ ได้พัฒนา “ผ้ารับเสียง Acoustic fabric” ที่สามารถเก็บเสียงแล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าได้ ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีนี้ทีมงานได้แรงบันดาลใจจากการได้ยินของหูมนุษย์ คลื่นเสียงจากสิ่งแวดล้อมจะอยู่ในรูปของแรงสั่นสะเทือน เมื่อเสียงกระทบกับเยื่อแก้วหูและกระดูก 3 ชิ้นภายในหูชั้นกลางจะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น ซึ่งการสั่นสะเทือนนี้จะต่อเนื่องจากไปยังเซลล์ขน ภายในหูชั้นใน เซลล์คนจำนวนมากจะเปลี่ยนแรงสั่นสะเทือนกลายเป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้านี้ คือ สัญญาณประสาท ที่จะส่งเข้าไปยังเส้นประสาทรับการได้ยินในที่สุด
การทำงานของผ้ารับเสียงนี้ใช้หลักการเดียวกันกับการได้ยินของหู คือ เส้นใยจะประกอบด้วยวัสดุเพียโซอิเล็กทริก ซึ่งวัสดุนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการเปลี่ยนพลังงานจลน์ (แรงกด, หรือแรงสั่นสะเทือน) ให้อยู่ในรูปของพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถรับแรงสั่นสะเทือนของเสียงได้ในระดับนาโนเมตร เมื่อนำมาถักทอเป็นเสื้อผ้า เท่ากับว่าคุณกำลังสวมใส่ไมโครโฟนขนาดใหญ่ไปพร้อมกับตัวคุณทุกที่ทุกเวลา
จากการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการรับเสียงของ Acoustic fabric สามารถรับเสียงปรบมือเบา ๆ ที่อยู่ไกลจากตัวผู้สวมใส่ได้ไกลถึง 3 เมตร และสามารถประเมินทิศทางของเสียงในองศาที่แตกต่างกันได้อีกด้วย เช่น หากทอเส้นใยเพียโซอิเล็กทริกไว้ที่ส่วนด้านหลัง การรับเสียงปรบมือที่มาจากด้านหน้าและด้านหลังของผู้สวมใส่จะได้ความแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการบอกทิศทางของเสียงได้
แต่ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าเท่านั้นที่พวกเขากำลังมองหาที่จะขยายการวิจัย “มันสามารถรวมเข้ากับผิวยานอวกาศเพื่อฟังฝุ่นในอวกาศที่สะสม หรือฝังเข้าไปในอาคารเพื่อตรวจจับรอยแตกหรือความเครียด Yan ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสนอ “มันสามารถทอเป็นตาข่ายอัจฉริยะเพื่อเฝ้าสังเกตปลาในมหาสมุทรได้ ไฟเบอร์กำลังเปิดโอกาสอย่างกว้างขวาง”
tags : sciencefocus