ช่วงที่ฝนตกหนักทุกวันแบบนี้ ระวัง 5 โรคอันตรายหน้าฝน เหล่านี้ด้วย อ. นพ.วศิน เลาหวินิจ แพทย์ประจำฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงโรคที่มักพบในหน้าฝนที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนี้
เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งเกิดได้หลายชนิด ผู้ป่วยมักมีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 2-3 วัน
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มักมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ไอและมีน้ำมูก ปวดศีรษะ
เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 2-7 วัน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ พบจุดจ้ำเลือดที่ผิวหนังและกระเพาะอาหารได้
เกิดขึ้นในพื้นที่น้ำท่วมขัง จะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูงเฉียบพลัน ตาแดง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะ บริเวณหลัง น่อง และ ต้นคอ ควรหลีกเลี่ยงการเดินในพื้นที่น้ำขัง หรือมีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก สัมผัสดวงตาจากการขยี้ตา หรือการกระเด็นทำให้เกิดอาการคัน หรือตาแดง
1.พยายามไม่ตากฝน ไม่โดนละอองฝน
2.หากโดนฝน หรือเปียกฝนจริงๆ ไม่ควรปล่อยให้ตัวเปียกๆ นานๆ หรือระหว่างที่ตัวเปียกๆ ไม่ควรเข้าไปในสถานที่ที่มีอากาศเย็นจัด เช่น ห้องแอร์ อาจทำให้เป็นหวัดได้ง่ายขึ้น
3.ไม่มีความจำเป็นต้องกินยาพาราเซตามอล หรือยาแก้แพ้ใดๆ หากไม่มีอาการ
4.รวมถึง หากคิดว่าในอนาคตจะต้องเจอฝนแน่นอน ไม่ควรกินยาดัก เพราะในทางปฏิบัติจริงแล้ว ไม่สามารถช่วยได้
5.ระหว่างที่ตัวเปียกฝน พยายามไม่เอามือมาสัมผัสหน้าตา
6.เมื่อตัวเปียกฝนแล้ว ควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม ปล่อยไดร์ผมให้ผมแห้งตัวแห้งทันทีที่ถึงบ้าน
7.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี