ครบรอบ 132 ปี 'หอไอเฟล'

ครบรอบ 132 ปี ‘หอไอเฟล’

ครบรอบ 132 ปี 'หอไอเฟล' สัญลักษณ์แห่งกรุงปารีส

วันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1889 ครบรอบ 132 ปี ‘หอไอเฟล’ สัญลักษณ์แห่งกรุงปารีส หอที่เป็นสัญญาลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส สถานที่สำคัญของกรุงปารีส ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แสดงชั่วคราวในงานนิทรรศการปารีสและการฉลองครบร้อยปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย “อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล” วิศวกรชาวฝรั่งเศส เมื่อสร้างเสร็จได้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกเป็นเวลากว่า 40 ปี

‘หอไอเฟล’ (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอแฟล) เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนช็องเดอมาร์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศิลปะสถาปัตยกรรม หอคอยสูงงดงามแห่งนี้เป็นดาวเด่นที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาได้รู้จักในนามหอไอเฟลและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส และใน ค.ศ. 2006 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้ ‘หอไอเฟล’ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย ความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) หรือสูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กรุงปารีสได้เป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี ค.ศ. 1889 เพื่อฉลองการครบ 100 ปีการปฏิวัติฝรั่งเศส ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้จัดการประกวดออกแบบสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงาน มีการส่งแบบเข้าประกวดถึง 100 บริษัท โดยบริษัทที่ได้รับเลือกจากทางกรรมการของปารีสคือแบบของบริษัทของนายกุสตาฟ ไอเฟล และได้ทำสัญญากับรัฐบาลในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1887

หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบน ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงสุดในกรุงปารีส และหากไม่นับรวมเสากระจายคลื่น หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างสูงที่สุดอันดับสองในฝรั่งเศส รองจากสะพานมีโยโดยใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 2 ปี 2 เดือน 5 วัน และมีพิธีเปิดหอไอเฟลอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1889

โดยแรกเริ่มนั้นหอไอเฟลชาวปารีสไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง ด้วยถูกมองว่าไม่สวยงาม จนถูกเรียกขานไปต่าง ๆ ในเชิงติดลบ และถึงขนาดเคยมีความคิดที่จะรื้อโครงสร้างออกด้วยเมื่อปี ค.ศ. 1909

 

TAGS : palanla

Similar Posts