จากผลสำรวจ
'เดลตา' แพร่ระบาดทั่วประเทศ 'ผู้สูงอายุ' กลุ่มเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิต
ล่าสุด วันที่ 19 ก.ค. 64 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 11,784 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 81 ราย โดยสายพันธุ์ ‘เดลตา’ ระบาดกว่า 62% ใน 72 จังหวัด เฉพาะกทม.เจอ 77% รวมถึง เบต้า ที่ระบาดในชายแดนใต้ ซึ่ง ศบค. คาดการณ์ว่าหากไม่มีมาตรการคุมเข้ม ไทยพบ “ผู้ป่วยรายใหม่” ได้สูงสุดถึง 31,997 รายต่อวัน และหากไม่ได้ ฉีดวัคซีนโควิด-19 มากกว่านี้ จะพบผู้ป่วยรายใหม่ 2 หมื่นกว่ารายต่อวัน จากการระบาดของโควิด-19 ทั้งกรุงเทพ ปริมณฑล และกระจายไปทั่วประเทศ
ทีมปฏิบัติการเชิงรุก Comprehensive COVID-19 Response Team (CCR Team) โดยความร่วมมือ กระทรวงสาธารณสุข และกทม. รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชน พบว่า ผู้สูงวัยในชุมชนที่ซับซ้อนเกือบ 100% ไม่ได้ฉีดวัคซีน เพราะลงทะเบียนไม่เป็น หรือลงทะเบียนได้ แต่ไม่มีผู้พาไปฉีดวัคซีน ซึ่งมีความกังวลว่า หากไม่ดำเนินการฉีดวัคซีนภายในระยะเวลานี้ ภายใน 7-14 วัน ภาพสถานการณ์ไม่เกิน 1 เดือนข้างหน้า กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อาจติดเชื้อ ซึ่งจะมีโอกาสอาการรุนแรง เสียชีวิตได้
เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ติดต่อได้ทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอจามหรือการพูดคุยใกล้ชิด ในระยะ 1-1.5 เมตร และการสัมผัสสารคัดหลั่งที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆ และเชื้อสามารถติดต่อจากผู้ที่ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการได้
จากผลสำรวจเผยอีกว่าใน ผู้สูงอายุ’ 10 ราย จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
ขณะเดียวกัน มาตรการล็อกดาวน์ในจังหวัดที่มีการระบาดและติดเชื้อสูง ทำให้ประชานประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งผู้สูงวัย เก็บตัวอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ อย่างไรก็ตามผู้สูงวัยจำนวนมากต้องการการดูแลจากญาติหรือผู้ดูแลที่ยังมีความจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านเพื่อทำงาน หรือ ไปซื้อของกินของใช้เข้ามาในบ้าน จึงมีโอกาสนำเชื้อจากภายนอกมาสู่ผู้สูงวัย ซึ่งจากรายงาน ศบค. พบว่า ผู้สูงวัย 10 ราย จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ถือเป็น 10% นับว่าเป็นอัตราที่สูง
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รายงานสถิติผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในกรุงเทพฯ ผ่านเฟซบุ๊ก ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-16 ก.ค.64 จำนวน 1,422 ราย เป็นชาย 55% หญิง 45% โดยพบว่ากลุ่มที่เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 61-70 ปี จำนวน 356 ราย รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 71-80 ปีเสียชีวิต 305 ราย กลุ่มอายุ 51-60 ปี เสียชีวิต 287 ราย และกลุ่มอายุ 41-50 ปี เสียชีวิต 118 ราย ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ มีผู้สูงอายุ จำนวน 1,669,072 คน
tags : bangkokbiznews