ฟาร์มโซลาร์เซลล์

สตาร์ตอัปสัญชาติสหรัฐฯ

มีเป้าหมายขยายขอบเขตการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เตรียมตั้งฟาร์มโซลาร์เซลล์บนวงโคจรดาวเทียม Molniya Orbit เพื่อส่งพลังงานจากอวกาศกลับมายังโลก หากมันประสบความสำเร็จจะเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่คุ้มทุนมากกว่าผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แบบภาคพื้นดินบนโลก

ฟาร์มโซลาร์เซลล์บนวงโคจรดาวเทียม

เทคโนโลยีนี้ประกอบด้วยดาวเทียมบรรทุกแผงโซลาร์เซลล์ขนาดความกว้าง 1.65 เมตรแล้วมาจัดเรียงกันเป็นโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1.65 เมตรแต่ละดวงส่งพลังงาน 1 กิโลวัตต์ (kW) ลงสู่พื้นดิน หากประกอบกัน 100,000 แผง จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 100 เมกะวัตต์ และบริษัทยังอ้างว่าสามารถขยายขนาดฟาร์มโซลาร์เซลล์นี้ให้ผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 20 กิกะวัตต์และอาจจะมากกว่านั้นด้วย ซึ่งโครงสร้างทั้งหมดนี้จะใช้หุ่นยนต์ในการติดตั้งกลางอวกาศ

หลักการทำงานคือแผงโซลาร์เซลล์กลางอวกาศจะเก็บรวบรวมพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นแปลงเป็นพลังงานไมโครเวฟ ซึ่งจะถูกแปลงเป็นลำแสงแบบต่อเนื่อง ลำแสงนี้มีความสามารถในการส่งพลังงานความเข้มข้มสูงให้พุ่งตรงกลับมายังโลก โดยจะมีอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า Rectenna แปลงพลังงานไมโครเวฟไปเป็นพลังงานไฟฟ้า 

จุดเด่นของเทคโนโลยีนี้ คือสามารถใช้แสงอาทิตย์ได้มากกว่าบนพื้นดิน 5 – 20 เท่า รวมถึงความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ยังสูงกว่าบนพื้นโลกร้อยละ 40 เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านสภาพอากาศหรือเวลากลางคืน ทำให้ส่งพลังงานไฟฟ้ากลับมาบนโลกได้ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้บริษัท Virtus Solis ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดต้นทุนเทคโนโลยี John Bucknell อดีตวิศวกรจรวดของ SpaceX และเป็นผู้ก่อตั้ง Virtus Solar กล่าวว่าเมื่อการใช้บริการสตาร์ชิปขนสินค้าขึ้นไปยังวงโคจร ลดราคาลงถูกกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,380 บาทต่อกิโลกรัม การสร้างแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศจะคุ้มค่ากว่าผลิตบนโลกแบบเดิม ๆ

Facebook

Similar Posts