นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
นักวิจัยต้องการให้เป็นวัสดุก่อสร้างแบบหมุนเวียนที่ยั่งยืน
Kaitlyn Becker ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์กล่าวว่า “แก้วเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้สูง ซึ่งเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ก็สามารถถอดประกอบเป็นโครงสร้างใหม่ได้ หรืออาจติดกลับเข้าไปในเครื่องพิมพ์แล้วเปลี่ยนให้เป็นรูปทรงอื่นที่แตกต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิงก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดของเราเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างแบบหมุนเวียนที่ยั่งยืน”
เมื่อมองจากด้านบน เนื่องจากต้องการให้บล็อกแก้วสามารถยึดตัวได้โดยไม่ต้องมีปูนเชื่อม แต่ยังคงความสวยงามเป็นแนวกำแพงคลื่นเวลาเรียงตัวต่อกัน ตัวบล็อกแก้วเลขแปดมีความยาวและความกว้างฝั่งละ 32.5 เซนติเมตร และสูง 38 เซนติเมตร
เป้าหมายหลักของงานวิจัยดังกล่าว คือการสาธิตความสามารถในการก่อสร้างที่ยั่งยืน (Circular construction) รวมถึงเสนอทางเลือกในการสร้างบล็อกแก้วแบบใหม่ด้วย และงานดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ กลาส สตรักเชอร์ส แอนด์ เอ็นจิเนียริง (Glass Structures & Engineering) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
tags : news.mit, TNN