ถอนงานวิจัย ใช้ "ฟ้าทะลายโจร" รักษาโควิด ลดปอดอักเสบ เหตุหลักฐาน "ไม่เพียงพอ"

สรุป

ถอนงานวิจัย ใช้ "ฟ้าทะลายโจร" รักษาโควิด ลดปอดอักเสบ เหตุหลักฐาน "ไม่เพียงพอ"

การรักษาโควิด19 ด้วย “ฟ้าทะลายโจร” จำเป็นต้องถอนงานวิจัยกลับไปศึกษาวิจัยใหม่อีกครั้ง ด้วยการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น หลังทีมผู้วิจัยได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับ ที่รอการตีพิมพ์กลับคืนจากคลังวารสารรอตีพิมพ์ (medRxiv) ด้วยเหตุผลที่ว่ามีความผิดพลาด ในการคำนวณค่านัยสำคัญของความแตกต่าง (p-value) จึงของดการเผยแพร่ไว้ก่อน

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ระบุว่า โดยระบุว่า ทีมผู้วิจัย (ชาวไทย) ซึ่งได้ทำวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ที่สรุปผลได้ว่าฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิด-19 แล้วมีผลดีลดการเกิดปอดอักเสบได้ ได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับของตนเองที่รอตีพิมพ์ กลับคืนจากคลังวารสารรอตีพิมพ์ (medRxiv) ด้วยเหตุผลว่ามีความผิดพลาดในการคำนวณค่านัยสำคัญของความแตกต่าง (p-value) จึงของดการเผยแพร่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันการนำผลวิจัยไปใช้ด้วยสำคัญผิด

 ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกลงไปอีกหน่อย คือในงานวิจัยนั้นรายงานว่า กลุ่มผู้ใช้ฟ้าทะลายโจร 29 คน เป็นปอดอักเสบ 0 คน กลุ่มที่ใช้ยาหลอก 28 เป็นปอดอักเสบ 3 คน คำนวณนัยสำคัญของความแตกต่างได้ p=<0.039 ซึ่งเป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ (ตัดกันที่ p=<0.05)

แต่หากคำนวณอย่างถูกต้อง แท้จริงแล้วค่านัยสำคัญจริงๆ คือ p=0.1 แปลไทยให้เป็นไทย คือจะต้องเปลี่ยนคำสรุปผลวิจัยเป็น “การใช้ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมได้ไม่แตกต่างจากใช้ยาหลอก” 

และที่เคยบอกว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการใช้ฟ้าทลายโจรรักษาโควิด ในตอนนี้พอแล้วต้องถอนคำพูด และขอใช้คำพูดใหม่ว่า “หลักฐานวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ตอนนี้ยังมีไม่พอ ต้องรอการวิจัยซ้ำ ด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น”

ที่ หมอสันต์ เคยบอกว่า หลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดตอนนี้พอแล้วนั้น ก็ต้องถอนคำพูด และขอใช้คำพูดใหม่ว่า “หลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดตอนนี้ยังมีไม่พอ ต้องรอการวิจัยซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น”

ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปได้ จากงานวิจัยนี้ว่า “ฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยโควิดไม่ได้” เพียงแต่สรุปได้ว่า “ฟ้าทะลายโจรอาจรักษาผู้ป่วยโควิด ไม่ให้มีปอดบวมได้ แต่ยังเชื่อมั่นไม่ได้ 100%” ถ้าจะให้โอกาสในการหาข้อสรุป ที่มีโอกาสผิดพลาดลดลงน้อยกว่า 5% ตามหลักชีวสถิติต้องใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาให้มากกว่านี้จนเพียงพอ จึงจะสามารถสรุปได้อย่างมั่นใจว่า ฟ้าทะลายโจรไม่สามารถรักษาโควิดได้

 

tags : sanook.

Facebook

Similar Posts